วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การทำน้ำหมักชีวภาพ(EM)

                            ก่อนที่จะลงมือทำ เราควรทราบหลักการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพกันก่อนคือ ประเด็นแรกคือ ความสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ประเภททำลายหรือทำให้เกิดการบูดเน่า ซึ่งการใช้ภาชนะที่สะอาดและมีฝาดปิดมิดชิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย ประการต่อมาคือ ขณะหมักจะต้องวางถังหมักไว้ในที่ร่มไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ตายและแสงแดดยังสลายสารอาหารที่เป็นประโยชน์ด้วย ประการต่อมาคือ ต้องให้เวลาในการหมักนานประมาณ 3 เดือนเพื่อให้กระบวนการย่อยสลายมีความสมบูรณ์ จึงสามารถนำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งานหรือทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับยางพาราหรือพืชทั่ว ๆ ไป และประการสุดท้าย หากต้องการขยายหัวเชื้อ จะต้อง
ทำการละลายน้ำตาลกับน้ำสะอาดก่อนที่จะใส่หัวเชื้อน้ำหมัก

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60 ลิตร

        1. ผลไม้สุก 12 กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  
     



     












        2. น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล จำนวน 4 กิโลกรัม
        3. น้ำสะอาด 40 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน
        4. ภาชนะหมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้
        5. ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้

วิธีทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ

      1. ใส่น้ำสะอาด 40 ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60 ลิตร
      2. ใส่กากน้ำตาล จำนวน 4 กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน
      3. ใส่ผลไม้สุก 12 กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้สุก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม : น้ำ 10 ลิตร)
      4. หลังจากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม
      5. เมื่อครบ 7 วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการหมักของเราได้ผลดี แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือกากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิดฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)
      6. เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้
                        น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
                        น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง)
                        น้ำหมัก : น้ำ 1: 500 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น น้ำหมัก : น้ำ 1:1000 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก
                        น้ำหมัก : น้ำ 1:1 หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัดวัชพืช
                        นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3 เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก                                      

     7. นำกากที่เหลือไปทำปุ๋ย โดยเทรอบ ๆ โคนต้นในรัศมีพุ่มใบต้นไม้ หรือปล่อยกากที่เหลือไว้ก้นถังหมักเพื่อขยายหัวเชื้อต่อ

หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก หรือก่อนครบ 3 เดือน ถ้าสังเกตุเห็นว่าถังบวม ให้รีบเปิดฝาเพื่อระบายอากาศออก แล้วรีบปิดฝาให้สนิททันทีเพื่อป้องกันเชื้ออื่นแทรกลงไป

วิธีการขยายหัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ 

        1. ผสมกากน้ำตาล 1 ส่วนกับน้ำสะอาด 8-10 ส่วน ในภาชนะที่จะใช้หมัก
        2. ใส่น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ 1 ส่วน ลงไปในถังหมัก (ต้องทำข้อ 1 ก่อนเสมอ)
        3. หมักไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 1-2 เดือน
        4. เปิดฝาและสังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้ ถ้ามีสีน้ำตาลอมเหลือง หรือมีฝ้าลอยอยู่บนผิว และมีกลิ่นส้มฉุน หรือกลิ่นส่าเหล้า แสดงว่านำ ไปใช้งานได้แล้ว หรือจะทำการขยายหัวเชื้อต่อไป ก็ได้

หมายเหตุ: หากทำได้ ทุก 2 เดือนเราควรขยายน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้กากน้ำตาลและน้ำตามขั้นตอนที่กล่าวมา น้ำจะเป็นบ้านหลังใหญ่ให้กับเหล่าจุลินทรีย์ทั้งหลาย กากน้ำตาลจะเป็นอาหารที่ทำให้เหล่าจุลินทรีย์มีพลังงานและแข็งแรง ผลิตลูกผลิตหลานให้มีจำนวนมากขึ้น ๆ พร้อม ๆ กับสร้างสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์และพลังงานที่เก็บอยู่ในรูปสารอาหาร
             การขยายน้ำหมักชีวภาพให้มีอายุมากขึ้น ๆ ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณเหล่าจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์พร้อมสร้างสารอาหารให้มากขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น การนำน้ำหมักชีวภาพที่มีอายุน้อย ๆ เช่น 7 วัน หรือ 15 วัน มาใช้งาน ก็เปรียบเสมือนเด็กทารกที่มีพละกำลังน้อย เสบียงน้อย ฤา จะสู้กับน้ำหมักที่มีอายุยาวนาน 2 ปีหรือมากกว่า ซึ่งจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีพละกำลังและเสบียงมากกว่า ได้ นั่นคือ น้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นเคล็ดลับ(ที่ไม่ลับ)สุดยอดที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้งานด้านต่าง ๆ
           น้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้งานด้านการ
เกษตรและการซักล้าง น้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้งานในการบำบัดน้ำเสีย, กำจัดกลิ่นเหม็น, สลายสารพิษหรือสารเคมีตกค้าง ดังนั้น จึงควรขยายน้ำหมักชีวภาพเสมอ ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อให้ได้น้ำหมักชีวภาพที่เปี่ยมล้นด้วยคุณภาพ

ข้อมูลจาก เว็บระบบจัดการความรู้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของ เกษตรกรรม



เกษตรกรรม (อังกฤษ: Agriculture) หมายถึง กระบวนการผลิตอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยวิธีการเพาะปลูกพืช มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "กสิกรรม" และวิธีการเลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ อย่างเป็นระบบ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเรียกว่า เกษตรกร

แรงงานจำนวน 42% ของทั้งโลกอยู่ในภาคเกษตรกรรม จึงถือว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่แพร่หลายที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีปริมาณเพียงไม่ถึง 5% ของผลผลิตมวลรวมของโลก (Gross World Product: GWP)


ประเภทของเกษตรกรรม

เกษตรกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวน การทำไร่ เป็นต้น




2. ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู หรือเลี้ยงสัตว์จำพวกสัตว์ปีก เป็นต้น




                             








3. การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์น้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น



                     










4. ด้านป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น













ข้อมูลจาก  วิกิพีเดีย